• Posted by : Unknown วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560


    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลายเคลื่อนไหว




    การนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน



    ที่
    ทฤษฏี
    แนวคิด
    กุญแจสำคัญ
    ลำดับขั้น
    ประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
    1
    ฟรอยด์
    บุคลิกภาพ
    ฟรอยด์ เชื่อว่าบุคลิกภาพส่วนใหญ่ของมนุษย์ที่แตกต่างกัน  เป็นผลมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนในแต่ละช่วงวัย  ขึ้นอยู่กับแต่ละคน   การแก้ปัญหาความขัดแย้งของในแต่ละช่วงวัยอย่างไร   โดยในช่วงอายุ 0-6 ปีแรกของชีวิตจะมีความสำคัญมาก
    ขั้น
    ต้องรู้วัยพัฒนาการของเด็ก ต้องรู้ว่าวัยไหนควรจัดการเรียนแบบไหนเมื่อรู้แล้วเราสามารถวางแผนการสอนได้ถูกต้อง และเมื่อมีปัญหาก็สามารถที่จะแก้ไขได้ทันถ่วงที
    2
    อีริคสัน
    เรียนรู้ตลอดชีวิต
    พัฒนาการเริ่มตั้งแต่อายุ 0 ปี จนถึงวัยชรา(ตลอดชีวิต)  และทุกๆการพัฒนานั้นจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่พบเจอในสังคม ส่วนวัยผู้ใหญ่จะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในวัยเด็ก
    ขั้น
    ไม่ควรที่จะคำนึงถึงประสบการณ์ของเด็กเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงขั้นพัฒนาการของเด็กด้วย ซึ่งสิ่งนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น และสามารถวางแผนการสอนได้อย่างถูกต้อง
    3
    โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
    พัฒนาการตามวัย
    พัฒนาการของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่สังคมและวัฒนธรรมก็ยังเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละคน
    ขั้น
    ครูสามารถที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เรียนรู้จากของจริงให้มากที่สุด เช่น ถ้าสอนวิชาประวัติศาสตร ก็จะพาผู้เรียนไปทัศนศึกษาสถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ
    4
    โคลเบิร์ก
    พัฒนาการทางจริยธรรม
    รู้การผิดชอบชั่วดีของมนุษย์
    ขั้น
    1.ครูสามารถที่จะควบคุมผู้เรียน โดยการกฎเกณฑ์ต่างๆ ในชั้นเรียน
    2.ครูจะสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเหตุผลในการตัดสินใจ
    5
    เปียเจท์
    ความคิดและจริยธรรม
    ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กมีกี่ขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ตั้งอยู่บนรากฐานของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
    ขั้น
    3. ครูสามารถที่จะจัดสื่อในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
    4.ครูสามารถฝึกการทำงานเป็นกลุ่มของผู้เรียน
    5.ครูจะสามารถให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
    6
    บรูเนอร์
    พัฒนาการทางด้านความคิด
    การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือองค์ความรู้เดิม
    ขั้น
    ครูสามารถที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนโดยสามารถคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้เรียนแต่ละคน








    ทฤษฏีการเรียนรู้


    ที่
    ทฤษฏี
    แนวคิด
    กุญแจสำคัญ
    ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
    1.
    พาฟลอฟ
    การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
    Type S
    สิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
    จินไม่ชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เนื่องจากจินไม่ชอบคุณครูที่สอนเพราะคุณครูถามคำถามโดยให้จินเป็นคนตอบเสมอ พอจินตอบคำถามไม่ได้ ครูก็จะดุจิน จึงทำให้จินไม่ชอบวิชานี้และไม่เกิดการเรียนรู้
    2.
    วัตสัน     
    การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

    Type S
    เจแปนชอบเล่นฝนมากๆแต่อยู่มาวันหนึ่งในขณะที่เจแปนกำลังเล่นฝนก็มีเสียงฟ้าร้องดังมากๆ เจแปนตกใจและกลัวมาก หลังจากนั้นเจแปนก็กลัวเสียงฟ้าร้องมาตลอด เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเจแปนก็จะร้องไห้ไม่หยุด ต่อมาเจแปนได้นั่งทานข้าวกับแม่และได้ยินเสียงฟ้าร้อง เจแปนกอดแม่ทันที แม่ของเจแปนคอยปลอบ ทำแบบนี้ 2 สัปดาห์ เจแปนก็ไม่กลัวเสียงฟ้าร้องอีกเลย
    3.
    สกินเนอร์
    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลงมือทำ
    การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ส่วนการกระทำที่ไม่เสริมแรงมีแนวโน้มที่การกระทำนั้นๆจะลดลงและค่อยๆหายไป
    ครูแก้วตาให้เด็กๆวาดรูปลงไปในกระดาษ หากใครวาดได้สวย จะได้คะแนน 3 ดาวเป็นรางวัล แต่ห้องคุณครูปลาให้เด็กๆวาดรูปเหมือนกัน แต่ไม่มีรางวัลให้ เด็กๆห้องครูปลาจึงไม่ค่อยจะขะหมักเขม้นเหมือนห้องคุณครูแก้วตา
    4.
    ธอร์นไดค์
    ทฤษฎีการสัมพันธ์เชื่อมโยง
    การลองผิดลองถูก
    คุณครูให้ดาจิมแกะขนมที่อยู่ในปี๊บ ถ้าแกะได้จะได้กินขนม ดาจิมจึงเริ่มแกะฝาปี๊บด้วยมือเปล่า ปรากฏว่าไม่ออก ดาจิมจึงไม่หยิบไม่บรรทัดพลาสติกมาเพื่อจะแกะฝาออก ปรากฏว่าไม้บรรทัดหัก ดาจิมจึงหาอะไรที่แข็งแรงกว่าโดยหยิบช้อนมาแกะฝาปรากฏว่าฝาถูกเปิดออกอย่างง่ายดาย ดาจิมจึงได้กินขนม
    5.
    แบนดูรา
    ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมพุทธิปัญญา
            การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
    คุณครูกีต้าให้เด็กๆเต้นเพลง เรามาแปลงฟัน โดยคุณครูจะเต้นให้เด็กๆดู และให้เด็กๆเต้นตาม ในตอนแรกเด็กหญิงโซดาเต้นตามครูไม่ได้ เธอยืนมองคุณครูเต้นอยู่2 รอบ และเธอก็เริ่มเต้นตามครูได้ ต่อมาเด็กหญิงโซดาเต้นตามคุณครูอีก5 รอบ เธอก็สามารถเต้นตามครูได้ถูกจนจบเพลง
    6.
    เกสตัลท์
    ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม
    การรับรู้ (perception)  และนำไปสู่การหยั่งเห็น (Insight)
    กิมจิกำลังเดินกลับบ้านแต่เมื่อเดินถึงสะพานปรากฏว่าสะพานขาด เป็นรู้กว้าง 2 เมตร กิมจิจึงมองหาไม้ที่กว้างพอจะเดินได้มาพาดแล้วเดินข้ามไปได้


    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลายเคลื่อนไหว

    Leave a Reply

    Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

  • Copyright © - จิตวิทยาสำหรับครู

    จิตวิทยาสำหรับครู - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan